ความเชื่อมั่นนักลงทุน “ร้อนแรง” หวังเงินทุนไหลเข้า มองศก.ถกถอยปัจจัยลบ
สมาคมธนาคารไทย แจงส่วนต่าง NIM สูง แบงก์มีภาระหนี้ 3.4 ล้านล้านบาท
นายกฯ หลังคุยผู้ว่าแบงก์ชาติ แค่ชวนมาดื่มกาแฟ ไม่มีสิทธิ์ก้าวก่าย
บล.เอเซียพลัส คาดการณ์กำไรสุทธิประจำไตรมาส 4 ปี 66 ของ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง อยู่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 5.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล (OPEX) และการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่ประเมินไว้ใกล้เคียงงวดก่อน หักล้างกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) ของธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ที่ได้ประโยชน์จากวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายและรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ขยายตัวตามฤดูกาล
โดยกรณีที่กำไรไตรมาส 4 เป็นไปตามคาด จะทำให้กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ปี 2566 ขยับมาอยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากปีก่อน แม้สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 2.2 แสนล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับกำไรกลุ่มฯ ปี 2567 ปัจจุบันที่ประเมินไว้ 2.3 แสนล้านบาท ถือว่าทำได้เพียงทรงตัว
ทั้งนี้ยังมีปัจจัยที่อาจทำให้กำไรมีความแตกต่างจากที่คาดการณ์ คือ
การวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน (FVTPL) ยังคงเป็นรายการที่มีความผันผวนสูง ตามมูลค่าสินทรัพย์ที่แต่ละแห่งลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากค่าเงินบาทเทียบเหรียญสหรัฐฯ หลังแข็งค่า 6% จากสิ้นไตรมาส 3 ปี 66 ซึ่งมีโอกาสส่งผลต่อพอร์ตลงทุนที่อยู่ในสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะพอร์ตเงินลงทุนที่ไม่ได้มีราคาตลาด
การตั้งสำรอง ECL ของธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องจับตา กรณีลูกหนี้รายใหญ่กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่อยู่ระหว่างการขอเลื่อนชำระเงินต้นกับผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส มองว่าด้วยงบดุลของลูกหนี้รายดังกล่าวช่วงที่ผ่านมามีสัญญาณความอ่อนแอ จึงมีความเป็นไปได้ว่าธนาคารพาณิชย์ใหญ่อาจมีการตั้ง ECL บางส่วนไว้แล้ว
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส ประเมินว่ามีโอกาสเปลี่ยนทิศในช่วง 2H67 หลังข้อมูลตัวเลข CPI ไทย (5 ม.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 67) เดือน ธ.ค. 66 ออกมาต่ำกว่าตลาดคาดและติดลบ 0.8% YoY ต่ำสุดในรอบ 34 เดือน และนับเป็นการติดลบ YoY ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยฝ่ายวิจัยมองการลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของไทย น่าจะเกิดขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (FED) เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างไรก็ตามอัตราในการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่ปรับขึ้นราว 2.0% จากจุดต่ำสุดที่ 0.5% ถือว่าไม่ได้แรงเท่าในต่างประเทศ จึงมองว่าอัตราการลดลงจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่างประเทศ ทั้งนี้ หากพิจารณาค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ตั้งแต่ GFC (Global financial crisis ปี 2551) ค้างนานสุดที่ 1.5% เป็นระยะเวลา 4 ปี ในปี 2558 –2561 และก่อนเข้าสู่ยุค Pre-COVID ช่วง 1H62 อยู่ที่ 1.75% และเป็นขาลงตั้งแต่ 2H62 สู่ 0.5% ช่วง2Q63 เพราะ COVID-19
โดยภาพรวมฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส จึงประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยจะลดลงได้ในระดับไม่เกิน 0.75% จากระดับปัจจุบัน ของวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงรอบนี้ปัจจัยดังกล่าวย่อมส่งผลลบต่อแนวโน้ม NII กลุ่มฯ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ซึ่งหากเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้งช่วง 2H67 คาดส่งผลต่อประมาณการปี 2567 จำกัด ตามระยะเวลาในการรับรู้อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ต่ำลงเป็นระยะเวลาไม่เกินครึ่งปี
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ :https://www.asiaplus.co.th/asps/research_file.php?id=72955&file=1
เปิดสถิติหวยออกงวดวันที่ 17 มกราคม หวยวันครู ย้อนหลัง 15 ปี
มอเตอร์เวย์ M6 เปิดให้ใช้ฟรีตลอดปี 2567 เก็บค่าผ่านทางปี 2568
โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดแรก 13 ม.ค 67